Social Icons

สอบทหารตำรวจ

หน้าแรก

แนะนำหน่วยงานของกองทัพไทย

     กองทัพไทย ดำรงและตั้งอยู่กับประเทศไทยมาอย่างช้านาน มีภาระกิจหลักในการปกป้องอำนาจอธิปไตยของชาติ เป็นกำลังสำคัญในการปกป้องแผ่นดินไทยให้ดำรงความเป็นชาติเอกราชไม่ว่าจะเป็นทางบก ทางอากาศ ทางเรือ เป็นรากฐานและหลักประกันค้ำจุนสถาบันชาติ ศาสนา และ พระมหากษัตริย์ มาโดยตลอด แอดมินจะขอแนะนำหน่วยงานของกองทัพไทยคราวๆ เพื่อเป็นข้อมูลในการสอบทหาร ในหน่วยงานของกองทัพกันค่ะ

วิวัฒนาการของกองทัพไทย

     กองทัพไทยเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งทรงเล็งเห็นความจำเป็นและความสำคัญของกองทัพ จึงทรงปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินในด้านต่างๆ เน้นด้านการทหารเป็นสำคัญ ทรงสนับสนุนกิจการทหารด้วยการส่งพระราชโอรสหลายพระองค์ไปทรงศึกษาวิชาทหารในทวีปยุโรป ซึ่งทรงนำวิทยาการทหารสมัยใหม่มาปรับปรุงทางทหารของไทยจนเจริญทัดเทียมชาติตะวันตก นอกจากนี้ยังทรงตราพระราชบัญญัติเกณฑ์ทหาร ร.ศ. 124 (พ.ศ. 2448) ให้ชายอายุครบ 18 ปี รับราชการทหาร 2 ปีแล้วปลดเป็นทหารกองหนุน และเริ่มมีนายทหารประจำการเป็นครั้งแรก โดยในครั้งแรกจัดตั้งกองทัพบกและกองทัพเรือ (อ่านต่อในส่วนของกองทัพบกและกองทัพเรือ)ซึ่งแยกการบริหารออกจากกันโดยเด็ดขาด  จัดกำลังไปประจำในท้องถิ่นหัวเมืองสำคัญ จัดโรงเรียนคะเด็ตทหารมหาดเล็ก (ต่อมาคือโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า) และโรงเรียนนายเรือ เพื่อผลิตทหารประจำการในกองทัพ
ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 การจัดกองทัพได้ขยายเต็มรูปแบบ เริ่มกิจการการบินและก้วหน้าจนสามารถสร้างเครื่องบินเองได้ (อ่านต่อในส่วนของกองทัพอากาศ) จวบจนถึงสมัยปัจจุบัน (ร.8-9) กองทัพไทยได้พัฒนาเพิ่มขึ้นอีกมาก ประกอบด้วยกำลังครบทั้งสามเหล่า คือ กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ ได้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องจนมีศักยภาพสูง และมีบทบาทเป็นที่ยอมรับในประชาคมโลก สามารถส่งกำลังทหารไปช่วยมิตรประเทศในการสงครามต่าง ๆ หลายครั้ง อาทิเช่น สงครามโลกครั้งที่ 1 ในยุโรป สงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม การรักษาสันติภาพในติมอร์ตะวันออก เป็นต้น

กองทัพบก

     กองทัพบกนั้นกล่าวได้ว่ามีกำเนิดมาพร้อม ๆ กับการก่อตั้งราชอาณาจักรไทย และเป็นรากฐานของความมั่นคงของประเทศชาติตลอดมา แต่ประวัติความเป็นมาของกองบัญชาการกองทัพบกตั้งแต่เริ่มแรกว่ามีที่ตั้งอยู่แห่งใด และได้มีการเปลี่ยนแปลงมาอย่างใดนั้น ยังไม่มีท่านผู้ใดเรียบเรียงไว้ กรมยุทธการทหารบกพิจารณาเห็นว่า การปฏิรูปการทหารบกของไทยเป็นแบบตะวันตก ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือต้นแบบของกิจการทหารบกสมัยปัจจุบัน ดังนั้น จึงสามารถอนุโลมได้ว่า กองทัพบกได้เริ่มมีขึ้นแล้วในสมัยนั้น ส่วนสถานที่ตั้งของกองบัญชาการกองทัพบกตั้งแต่เริ่มแรก และเปลี่ยนแปลงไปอย่างใดนั้น จะทราบได้จากการศึกษาประวัติความเป็นมาของ กองบัญชาการกองทัพบกควบคู่กันไป การปฏิรูปการทหารบกของไทยเป็นแบบตะวันตก ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือต้นแบบของกิจการทหารบกสมัยปัจจุบัน

แนะนำกองทัพบกไทย


     หน่วยงานภายในของกองทัพบก

  • ส่วนบัญชาการ
  • ฝ่ายเสนาธิการ
  • ฝ่ายกิจการพิเศษ
  • ฝ่ายยุทธบริการ
  • ส่วนการศึกษา
  • กองทัพภาคที่ 1
  • กองทัพภาคที่ 2
  • กองทัพภาคที่ 3
  • กองทัพภาคที่ 4
ภารกิจหลักของกองทัพบก

      พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2503 มาตรา 14 กำหนดอำนาจและหน้าที่กระทรวงกลาโหมและหน้าที่ของกองทัพบกไว้ว่า "กองทัพบกมีหน้าที่เตรียมกำลังทางบก และป้องกันราชอาณาจักร มีผู้บัญชาการทหารบกเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ"


กองทัพเรือ

    กองทัพเรือมีกำเนิดควบคู่มากับการสร้างอาณาจักรไทย นับตั้งแต่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานี กองทัพไทยในสมัยเดิมนั้น มีเพียงทหารเหล่าเดียวมิได้แบ่งแยกออกเป็นกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ อย่างเช่นในสมัยปัจจุบัน หากยาตราทัพไปทางบกก็เรียกว่า ทัพบก หากยาตราทัพไปทางเรือก็เรียกว่า ทัพเรือ   


ในอดีตนั้นเรือรบได้แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่

เรือรบในแม่น้ำ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ภายหลังจากสมเด็จพระไชยราชาธิราช (พ.ศ. 2076 - 2089) ทรงยกกองทัพ ไปตีเมืองเชียงกราน ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของไทย คืนจากพม่า ใน พ.ศ.2081 ต่อจากนั้นไทยก็ได้ทำศึกสงครามกับพม่ามาโดยตลอด เรือรบในแม่น้ำ ในสมัยนี้จะมีบทบาทสำคัญ ในการเป็นพาหนะใช้ทำศึกสงครามมากกว่าเรือรบในทางทะเล เรือรบในแม่น้ำ เริ่มต้นมาจาก เรือพาย เรือแจว ก่อน เท่าที่พบหลักฐานไทยได้ใช้ เรือรบ ประเภทเรือแซ เป็นเรือรบในแม่น้ำ เพื่อใช้ในการลำเลียงทหาร และ เสบียงอาหารมาช้านาน โดยใช้พาย 20 พาย เป็นกำลังขับเคลื่อน ให้เรือแล่นไป

เรือรบในทะเล  สำหรับเรือรบในทะเล ในสมัยแรกยังไม่มีบทบาทสำคัญในการเป็นพาหนะเท่าเรือรบในแม่น้ำ เนื่องจากลักษณะที่ตั้ง ตัวราชธานี อยู่ไกลจากปากแม่น้ำเจ้าพระยา ความจำเป็นในการใช้เรือจึงมีน้อยกว่าในยามปกติ ก็นำเอาเรือที่ใช้ในทะเลมาเป็น พาหนะ ในการบรรทุกสินค้าออกไปค้าขายยังหัวเมืองชายทะเลต่าง ๆ และประเทศข้างเคียงครั้นเมื่อบ้านเมืองมีศึกสงคราม ก็นำเรือเหล่านี้ มาติดอาวุธปืนใหญ่ เพื่อใช้ทำสงคราม


         แต่ครั้งโบราณ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไทยได้เริ่มใช้เรือรบในทะเล ในการทำศึก สงครามบ้างแล้ว เช่น ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้ยกทัพเรือ ไปตีเมืองทวาย เมื่อ พ.ศ.2135 และในสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ยกทัพเรือไปตีเมืองบันทายมาศ เมื่อ พ.ศ.2384  เป็นต้น ส่วนเรือรบในทะเล จะมีเรือ ประเภทใดบ้างยังไม่อาจทราบได้แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่า คงจะเป็นเรือใบหลายประเภทด้วยกัน ถ้าเป็นเรือขนาดใหญ่ ส่วนมากจะเป็นเรือสำเภาแบบจีน  เรือกำปั่นแปลง แต่ถ้าเป็นเรือขนาดย่อมลงมา จะเป็นเรือสำปั้นแปลง เรือแบบญวน เรือฉลอม เรือเป็ดทะเล และเรือแบบแขก เป็นต้น
     
     ต่อมาเมื่อเปลี่ยนยุคเปลี่ยนสมัยเข้าสู่ราชวงค์จักรี ในรัชกาลที่ 7 ส่วนราชการต่างๆ มีความจำเป็นต้องขยายกิจการให้กว้างขวาง หน่วยงานราชการต่างๆ ยกระดับฐานะของตนตามความสำคัญในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ และในวันที่11 ธันวาคม พ.ศ. 2453 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนฐานะกรมทหารเรือเป็นกระทรวงทหารเรือ และในวันเดียวกันนั้นก็ได้ประกาศแต่งตั้งจอมพลเรือสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เป็นเสนาบดีกระทรวงทหารเรือ

"กองทัพเรือ" ขึ้นตรงต่อ กระทรวงกลาโหม โดยแบ่ง ส่วนราชการ ออกเป็น ๔ ส่วน
  • กรมเสนาธิการทหารเรือ 
  • กองเรือรบ  
  • สถานีทหารเรือกรุงเทพ  
  • กรมอู่ทหารเรือ    
  • กรมสรรพาวุธทหารเรือ  
  • กรมอุทกศาสตร์
     สำหรับ "ราชนาวีไทย" ได้ถือเอาแบบอย่าง "ราชนาวีอังกฤษ" เป็นหลัก ถึงแม้จะมีประเพณีอีกเป็นอันมากที่ยังไม่ได้รับรองเป็นทางการก็ตาม แต่เชื่อว่าทหารเรือของประเทศทั้งหลาย ก็คงไม่ยอมให้ประเพณีเหล่านั้นเปลี่ยนไป หรือทอดทิ้งละเลยให้สูญไปเสีย และเป็นหน้าที่ของทหารเรือรุ่นหลังทุกคน ที่ต้องพยายามศึกษาให้รู้และปฏิบัติตาม การที่จะเป็นผู้มีวินัยดีย่อมเกิดจากการปฏิบัติตามแผนที่ดีและแบบแผน ธรรมเนียมที่ดีเหล่านี้จะคงอยู่ด้วยการร่วมมือกัน ปฏิบัติทั่วทุกคน ทั้งนายทหารและทหาร โดยเฉพาะผู้น้อยควรลงมือปฏิบัติก่อนเสมอ

แนะนำราชนาวีไทย

กองทัพอากาศ

     กองทัพอากาศไทย  เกิดขึ้นภายหลังจากการจัดตั้งกองทัพอากาศฝรั่งเศส  ถือได้ว่าเป็นกองทัพอากาศที่ก่อตั้งเป็นลำดับแรกๆ ของเอเชีย และมีวีรกรรมครั้งสำคัญเกิดขึ้นมากมายในช่วงกรณีพิพาทไทย-อินโดจีนฝรั่งเศส ปัจจุบันมีกองบัญชาการอยู่ที่เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ และภายในปี พ.ศ. 2554 หลังจากได้รับมอบฝูงบิน Gripen กับเครื่องบินเตือนภัยทางอากาศจากบริษัท Saab และการปรับปรุงครึ่งชีวิตให้กับฝูงบิน F-16-A/B ให้มีมาตรฐานเทียบเท่ากับรุ่น C/D กองทัพอากาศไทยจะมีอิทธิพลทางอากาศมากเป็นอันดับที่สองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รองจากสิงคโปร์ในแง่ของขีดความสามารถและความทันสมัยของอากาศยาน
     ย้อนหลังไปในอดีต เมื่อเริ่มต้นก้าวแรกของกองทัพอากาศ ได้ส่ง
  • นายพันตรี หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ (สุณี สุวรรณประทีป) ต่อมาเป็น พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ
  • นายร้อยเอก หลวงอาวุธสิขิกร (หลง สินศุข) ต่อมาเป็น นาวาอากาศเอก พระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์
  • นายร้อยโท ทิพย์ เกตุทัต ต่อมาเป็น นาวาอากาศเอก พระยาทะยานพิฆาต
      ทั้งสามท่านได้เข้าเรียนที่บริษัทนีเออร์ปอร์ต (Nieuport Company) ในเดือนมกราคมปี พ.ศ. 2454
หลังจากท่านทั้งสามสำเร็จวิชาการบิน ก็ได้ซื้อเครื่องบิน 2 แบบ 8 ลำ คือ Nieuport และ Breguet แบบละ 4 ลำ โดยระยะแรกได้ใช้สนามม้าสระปทุมเป็นสนามบิน แต่ด้วยปัญหาบางประการทำให้สนามม้าสระปทุมไม่สามารถรองรับกิจการการบินที่เติบโตขึ้นได้ จอมพลสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ ทรงย้ายที่ตั้งแผนกการบิน มาที่ตำบลดอนเมืองตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2457 และทรงยกฐานะแผนกการบิน เป็น"กองบินทหารบก" ในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2457 ต่อมากระทรวงกลาโหมได้ยึดถือวันนี้เป็น "วันที่ระลึกกองทัพอากาศ"

     ในปี พ.ศ.2464 กระทรวงกลาโหม ได้พิจารณาเห็นว่า กำลังทางอากาศ มิได้เป็นกำลังเฉพาะในด้านยุทธศาสตร์ทางทหารเท่านั้น แต่มีประโยชน์อย่างกว้างขวางต่อกิจการด้านอื่น ๆ อีกด้วย จึงได้แก้ไขการเรียกชื่อจาก "กรมอากาศยานทหารบก" เป็น "กรมอากาศยาน" และเป็น "กรมทหารอากาศ" ในเวลาต่อมา โดยให้อยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมโดยตรง พร้อมทั้งได้มีการกำหนดยศทหาร และการเปลี่ยนแปลงเครื่องแบบจาก "สีเขียว" มาเป็น "สีเทา" ดังเช่นในปัจจุบัน

      และวันที่ 9 เมษายน พ.ศ.2480 ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น "กองทัพอากาศ" มียศและเครื่องแต่งกายเป็นของตน เอง โดย นาวาอากาศเอกพระเวชยันต์รังสฤษฎ์ เป็นผู้บัญชาการทหารอากาศคนแรก จึงถือเอาวันนี้เป็น "วันกองทัพอากาศ" ถวายพระเกียรติจอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ เป็น "พระบิดาแห่งกองทัพอากาศไทย" และยกย่องนายทหาร 3 ท่านที่ไปเรียนวิชาการบินรุ่นแรกเป็น "บุพการีทหารอากาศ" ปัจจุบันกองทัพอากาศมีกำลังทางอากาศทั้งสิ้น 4 กองพลบิน 11 กองบิน โดยมีอากาศยานรวมเกือบ 320 ลำ

แนะนำกองทัพอากาศ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น